การตรวจสอบไซส์กุ้งและคุณภาพกุ้งก่อนจับจากบ่อ

1. การสุ่มไซส์กุ้งกรณีซื้อตรง เป็นการสุ่มเพื่อซื้อขาย
     1.1 สุ่มทอดแหในบ่อกุ้ง แล้วนำมาปลดใส่ภาชนะ ชั่งน้ำหนักภาชนะพร้อมกุ้ง...(A)    
     1.2 นับจำนวนตัวกุ้งทั้งหมด โดยนับครั้งละ 2 ตัว...(B)
     1.3 นำภาชนะเปล่ามาชั่งน้ำหนัก...(C)
     1.4 นำน้ำหนักทั้งหมด(กุ้ง+ ภาชนะ)มาลบ น้ำหนักภาชนะเปล่า ให้เหลือเฉพาะน้ำหนัก
          กุ้ง...(A-C) = D
     1.5 นำข้อมูลที่ในข้อ 1.1-1.4 มาคำนวณหาขนาดไซส์กุ้ง ตามสูตรการคำนวณ
สูตรการคำนวณไซส์กุ้ง
        ไซส์กุ้ง ตัว/ KG   1,000 X  จำนวนตัวกุ้งทั้งหมดที่นับได้ (B)
                                                        น้ำหนักกุ้งที่สุ่ม (D)
    หมายเหตุ : หากซื้อกุ้งผ่านแพ ให้ดำเนินการเริ่มปฏิบัติในข้อที่ 2 เป็นต้นไป

2. การสุ่มกุ้งเพื่อมากระจายไซส์ (ใหญ่ กลาง เล็ก จิ๋ว) โดยอ้างอิงตาม Order 
     2.1 นำกุ้งจากการสุ่มมาประมาณ 2-3 Kg 
     2.2 คัดแยกกลุ่มกุ้งโดยสายตา ออกเป็นกลุ่มขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก จิ๋ว ทำการชั่งน้ำหนัก และนับจำนวนตัวแต่ละกลุ่ม
     2.3 นำข้อมูลแต่ละกลุ่ม มาคำนวณไซส์กุ้ง แล้วคิดเป็น แต่ละช่วงไซส์ (ตามวิธีการที่แสดงข้างล่าง)เพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้อง

            การกระจายไซส์
 อุปกรณ์
- เครื่องชั่งดิจิตอล
- ตะกร้า
- เครื่องคิดเลข
วิธีการ
- สุ่มตัวอย่างกุ้งมาประมาณ 2-3 กก.
- แยกกลุ่มขนาด โดยการแยกกลุ่ม ใหญ่ กลาง เล็ก และจิ๋ว
- นับจำนวนตัวแต่ละกลุ่ม
- ชั่งน้ำหนักกกุ้งแต่ละกลุ่ม
- คำนวณตามสูตรดังนี้
      ไซส์กุ้งของแต่ละกลุ่ม (ตัว/ กก.) =   จำนวนตัวที่นับได้ของแต่ละกลุ่ม (ตัว) X 1,000
                                                                     น้ำหนักที่ชั่งได้ของแต่ละกลุ่ม (กก.)
      น้ำหนักของแต่ละกลุ่ม        =   น้ำหนักของแต่ละกลุ่ม
                                                       น้ำหนักที่สุ่มมาตรวจสอบ

3. คำนวณค่า UF. กุ้งในบ่อ
       3.1 นำกุ้งชุดที่เอามากระจายไซส์ แยกกุ้งตัวใหญ่สุด และตัวเล็กสุด อย่างละ 5 ตัวมาชั่งน้ำหนัก
          คำนวณค่า UF.
          ค่า UF =      น้ำหนักกุ้งตัวใหญ่ (5 ตัว)
                             น้ำหนักกุ้งตัวเล็ก (5 ตัว)

4. การตรวจสอบ Defect ที่มีผลต่ออัตราการรอดและ  order ที่รองรับ
      4.1 นิ่มวุ้น
      4.2 กึ่งนิ่ม
 4.3 กรอบแกรบ
      4.4 แผล
      4.5 เหงือกดำ
4.6 ตะไคร่น้ำ
      4.7 อื่นๆ ที่มีผลต่ออัตราการรอดและ Order ที่รองรับ

5. การตรวจสอบ สี กลิ่น ทราย
     5.1 สุ่มกุ้งมาจำนวน 20 ตัว
     5.2 นำกุ้งมาต้มใน น้ำเดือดจนสุก(ต้มน้ำให้เดือดก่อน แล้วใส่กุ้ง)
     5.3 นำกุ้งหลังต้มมา cooling  ในน้ำเย็นทันที
     5.4 นำกุ้งหลัง Cooling มาทำการวัดสี โดยอุปกรณ์ Salmomfan โดยนำแทบสี ไปเทียบกับข้อที่3 ของหลังกุ้ง แล้วแยกจำนวนตัว ตามระดับสีที่วัดได้ว่าแต่ละระดับมีกี่ %
     5.5 ชิมตัวอย่างกุ้งเพื่อทดสอบกลิ่น/ทราย อย่างน้อย 3 ตัว/คน และให้ระบุกลิ่นวัตถุดิบเป็น ปกติ หรือน้ำดอง หรือน้ำมัน หรือโคลน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น